Placeholder image

EN

PIAGET A One-of-a-Kind Tribute to the Altiplano Ultimate Concept


หลังเปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้วกับ Altiplano Ultimate Concept (AUC) หน้าปัดสีเขียว ที่สะท้อนถึง La Côte-aux-Fées สถานที่อันเป็นจุดเริ่มต้นของเมซง ซึ่งแทรกตัวอยู่ในพื้นที่เขียวขจี ณ เมือง Neuchâtel ในเขตเทือกเขา Jura มาปีนี้กับซีรีส์ภาคต่อ ที่เพียเจต์รังสรรค์ขึ้นเพื่อสดุดีให้กับความเป็นเลิศของเรือนเวลา AUC รุ่นบุกเบิก โดยหยิบเอานาทีประวัติศาสตร์มาสอดแทรกไว้ในตัวเรือนรุ่นล่าสุดในทุกองค์ประกอบ

The Concept
จากจุดเริ่มต้นของแนวคิด วิสัยทัศน์ และความฝัน ก่อนหล่อหลอมออกมาเป็น Altiplano Ultimate Concept (AUC) ที่แสนขบถ แทบไม่มีใครเชื่อเลยว่าแบรนด์จะทำได้สำเร็จ แต่หากเป็นเพราะปรัชญาของเมซงนั่นเองที่ผลักดันให้ท้าทายขีดจำกัดได้อย่างสุดขั้ว ดังเช่นที่ Valentin Piaget ชอบพูดเสมอว่า "to do what has never been done before"

โดยหลังจากที่ทีมดีไซเนอร์ วิศวกรการออกแบบ และช่างทำนาฬิกา เดินหน้าค้นหาโซลูชั่นและพัฒนาร่วมกันกว่า 4 ปี วันที่แบรนด์ได้ประกาศชัยชนะอย่างเต็มภาคภูมิก็มาถึง เมื่อสามารถเปลี่ยนไอเดียในอดีตให้กลายเป็นเรือนเวลา AUC บนโลกแห่งความเป็นจริงได้สำเร็จ ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2017 เวลา 07:47 น.

The Journey So Far
การรังสรรค์กลไกและเรือนเวลาที่มีความเพรียวบางเป็นพิเศษ ถือเป็นสิ่งที่เมซงยึดมั่นมาตลอด ย้อนกลับไปยุคบุกเบิกราวปี 1874 Georges Edouard Piaget ผู้ก่อตั้ง คือบุคคลที่ได้รับการยอมรับในแวดวงนาฬิกาแถบ Swiss Jura เป็นอย่างมาก แม้ขณะนั้นเพียเจต์จะเป็นเพียงโรงงานผลิตชิ้นส่วนกลไกที่เริ่มต้นจากเวิร์คช็อปขนาดย่อมในโรงนาของครอบครัว แต่แบรนด์แทบไร้คู่ต่อสู้ - เพราะทุกชิ้นส่วนและกลไกคุณภาพสูงที่พัฒนาขึ้น ล้วนถูกกว้านซื้อโดยบริษัทผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำในแถบ Swiss Jura เพื่อนำไปรังสรรค์เรือนเวลาของตนเองทั้งสิ้น

ปี 1957 เมซงเปิดตัวกลไกจักรกลที่บางที่สุดในโลกอย่าง Caliber 9P ที่มีความหนาเพียง 2 มิลลิเมตร ก่อนสร้างสถิติความบางอันเหลือเชื่ออย่างต่อเนื่อง อาทิ กลไก 12P กลไกอัตโนมัติที่บางที่สุดในโลก ที่เปิดตัวในปี 1960, กลไก 1200P และ 1208P ปี 2010 ไปจนถึง 900P ปี 2014 แม้การครองสถิติโลกจะเป็นบทพิสูจน์ที่ชัดเจนถึงความสำเร็จของแบรนด์ แต่อีกนัยยะคือการสะท้อนความอุตสาหะของเมซงในการแสวงหาความสง่างามอย่างที่สุดมาให้เหล่าผู้ครอบครองนั่นเอง

The AUC Story
AUC ถูกพูดถึงอย่างมากในกลุ่ม watch community และสื่อมวลชนทั่วโลก หลังถูกนำเสนอครั้งแรกในงาน Watches & Wonders ปี 2018 ณ นครเจนีวา จากนั้นอีก 2 ปี แบรนด์สามารถส่งมอบนาฬิการะบบกลไกที่บางที่สุดในโลกสู่ผู้ใช้งานตัวจริงได้สำเร็จในเดือนเมษายน 2020 พร้อมคว้ารางวัล Aiguille d'Or อันทรงเกียรติ หรือ รางวัลนาฬิกายอดเยี่ยมประจำปี 2020 จาก Grand Prix d'Horlogerie de Genève ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ตั้งแต่นั้นมา AUC ก็เป็นที่จับจ้องของบรรดานักสะสมทั่วโลกที่ชื่นชอบความท้าทายในระดับ Micro engineering ทั้งยังคงเป็นหนึ่งในเรือนเวลาที่บางที่สุดในโลกในปัจจุบัน

A Feat of Technology
เป็นที่รู้กันว่านาฬิกาส่วนใหญ่ประกอบด้วย 4 เลเยอร์หลัก ๆ คือ 1) ขอบตัวเรือนและคริสตัล 2) หน้าปัดและเข็มนาฬิกา 3) กลไก และ 4) ฝาหลัง

แต่สำหรับเพียเจต์ แนวคิดอันแสนขบถของแบรนด์คือการรังสรรค์เรือนเวลาในแบบไม่ตามใคร โดยการถอดโครงสร้างทั้ง 4 ชั้นออก และหลอมรวมให้เป็นชิ้นเดียว โดยด้านหนึ่งเป็นองค์ประกอบพวกบริดจ์ หน้าปัด และเข็มนาฬิกา ขณะที่ด้านตรงข้ามเป็นชิ้นส่วนฝาหลัง กลไก เมนเพลท และขอบตัวเรือน ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวการันตีด้วยสิทธิบัตรถึง 5 ฉบับด้วยกัน ทำให้เมซงสามารถผลิตนาฬิกาที่มีความหนาของตัวเรือนเพียง 2 มิลลิเมตร โดยวัดจากด้านล่างของฝาหลังไปจนถึงส่วนบนสุดที่เป็นกระจกหน้าปัด

An Horological Adventure
สำหรับเรือนเวลารุ่นล่าสุดนี้ ถือเป็นการเฉลิมฉลองการเดินทางที่แสนท้าทายของ AUC โดยเมซงสอดแทรกดีเทลที่ชวนให้นึกถึงการเดินทางอันน่าทึ่งไว้ในทุกองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็น

  • ด้านบนสุดของหน้าปัด ประดับโลโก้ "Piaget" แต่ดีไซน์กลับดูแปลกตากว่าทุกครั้ง เพราะ แบรนด์เจาะจงใช้ historic font ตัวเดียวกับที่ใช้ทำป้ายโลโก้ที่โรงงานผลิตนาฬิกาในหมู่บ้าน La Côte-aux-Fées นั่นเอง - สถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นและยังคงเป็นฐานผลิตให้กับเมซงจนถึงปัจจุบัน
  • บนวงแหวนของอินเด็กซ์บอกเวลา คุณจะพบกับวงกลม 2 วงท่ามกลางจุดต่าง ๆ มากมาย ซึ่งตรงกับเวลาประวัติศาสตร์ 7:47 ที่ AUC เรือนแรกถือกำเนิดขึ้นนั่นเอง
  • นอกจากเลขนาทีประวัติศาสตร์แล้ว ที่ตำแหน่ง 2:30 แบรนด์ยังสลักวันเกิดของ AUC ไว้อีกด้วย ซึ่งตรงกับ 7th February 2017
  • บน ratchet wheel สลักคำว่า "La Côte-aux-Fées" พร้อมระบุพิกัด GPS ของโรงงานไว้อีกด้วย
  • พลาดไม่ได้กับความสง่างามของพื้นหน้าปัดเคลือบสารเรืองแสง Super-LumiNova ที่จำลองทะเลดาวขณะส่องแสงระยิบระยับเกลื่อนฟากฟ้าเหนือ La Côte-aux-Fées ณ วันและเวลาที่ AUC ถือกำเนิดมาถ่ายทอด
  • Piaget Altiplano Ultimate Concept (G0A47505) มาในตัวเรือนขนาด 41 มิลลิเมตร ทำจากโคบอลต์ผสมอัลลอยด์ ซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัวกับเพลทเคลือบ PVD สี dark slate blue ขัดแต่งแบบพ่นทราย ขณะที่ฝาหลัง ขอบตัวเรือน และขานาฬิกาขัดเงาซาติน ตัดกับ case band แบบขัดด้าน จับคู่กับสายหนังจระเข้สีน้ำเงินเข้มที่มีความบางไม่ถึง 1.5 มิลลิเมตร ซึ่งปรับขนาดลงเพื่อสร้างสถิติความบางแบบสุดขั้วให้สำเร็จ สำรองพลังได้ยาวนาน 40 ชั่วโมง

    เรือนเวลาที่ไม่มีใครเหมือน กับดีไซน์ที่เปี่ยมไปด้วยเรื่องราวของ La Côte-aux-Fées ทั้งยังสดุดีให้กับความเป็นเลิศของเรือนเวลา AUC รุ่นบุกเบิก เป็นอีกบทพิสูจน์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญที่ เพียเจต์ปลูกฝังมาเป็นเวลานาน ว่าสามารถก้าวข้ามขีดจำกัด และหลอมรวมดีไซน์และเทคโนโลยีเข้าไว้ด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์แบบ


    Show Time for The Limelight Gala


    เพียเจต์พาสำรวจคีย์พีซเด่นจากซีรีส์ Limelight Gala ที่เหล่าสุภาพสตรีใฝ่ฝันอยากมีไว้ประดับข้อมือ กับ 2 ลุคห้ามพลาดที่เมซงนำมาถอดรหัสให้ได้ชมในซีซั่นนี้ อย่าง Limelight Gala High Jewellery และ Limelight Gala Precious

    Limelight Gala High Jewellery
    เรือนเวลาชั้นสูงล่าสุดที่ชวนสะดุดตาด้วยซิกเนเจอร์ทางด้านดีไซน์ของเมซง ทั้งยังผสมผสานความแตกต่างของเพชรเจียระไนหลากคัท ไม่ว่าจะเป็น บริลเลียนต์คัต, ทรงบาแก็ตต์ และ ทรงมาร์คีส์ได้อย่างน่าหลงใหล และนี่คือดีเทลแบบโคลสอัพที่แบรนด์รวบรวมมาให้ชม

    The Marquise Cut
    ทรงมาร์คีส์ถือเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์สำคัญของเมซง เมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสมีประสงค์ให้ช่างฝีมือเจียระไนเพชรทรงใหม่ที่สะท้อนถึงรอยยิ้มงดงามของมาดามอันเป็นที่รักอย่าง 'Marquise de Pompadour' ซึ่งซิกเนเจอร์คัตเลื่องชื่อนี้ได้สะท้อนประกายงามอย่างเป็นเอกลักษณ์บนชิ้นงานที่เมซงรังสรรค์มานับไม่ถ้วน ตั้งแต่คอลเลคชั่น Haute Joaillerie patrimony ในยุคเริ่มแรก ไปจนถึงนาฬิกาจิวเวลรี่ที่เปิดตัวในช่วงทศวรรษที่ 1960 และอีกหลากหลายไอเท็มคุ้นตาในปัจจุบัน

    The Art of Stone Setting
    Limelight Gala High Jewellery เป็นมากกว่านาฬิกาจิวเวลรี่ทั่วไป เพราะนี่คือผลลัพธ์แห่งความสำเร็จที่หลอมรวมศาสตร์ที่บ่มเพาะความเชี่ยวชาญมากว่าทศวรรษ อย่างการทำทองและการฝังอัญมณีไว้ด้วยกัน และนี่คือความน่าสนใจก่อนจะกลายมาเป็นเรือนเวลาชั้นสูงที่สะท้อนนิยามของคำว่า "เพอร์เฟกต์"

    - เมซงใช้เวลากว่า 175 ชั่วโมง ในการประดับเพชร 250 เม็ดทั่วทั้งตัวเรือนไวท์โกลด์

    - ประกายงามของเพชรที่ประดับบนชิ้นงาน ก็พิเศษต่างกันไปตามการเจียระไน ตำแหน่งและรูปแบบในการฝังเพชร ซึ่งเมซงประยุกต์ใช้ถึง 4 เทคนิคด้วยกัน อาทิ claw setting สำหรับเพชรทรงมาร์คีส์, snow setting สำหรับบริเวณหน้าปัด, channel setting สำหรับเพชรทรงบาแก็ตต์ ปิดท้ายด้วย grain setting สำหรับเพชรบริลเลียนต์คัตบนสายรัดข้อมือ

    - เพื่อดึงเอาประกายงาม สีสันและเอกลักษณ์ของอัญมณีชนิดนั้น ๆ ออกมาให้เด่นชัดที่สุด การฝัง อัญมณีจึงเป็นศาสตร์ที่อาศัยชั้นเชิงของช่างทองในอเตลิเยร์ไม่แพ้กัน หากกล่าวว่าความเป็นเลิศทางเทคนิคอยู่ในดีเอ็นเอของช่าง ทักษะงานศิลป์ก็คืออีกหนึ่งสกิลที่ถูกผนวกเข้าไปในทุกขั้นตอน

    - ไม่เกินจริงสำหรับคำว่า “เพอร์เฟกต์” เพราะนอกจากความงามต้องเป็นที่ประจักษ์ gem-setter ยังต้องรักษามู้ดแอนด์โทนของชิ้นงานให้ไล่เรียงเฉดสีกันอย่างกลมกลืน ซึ่งการฝังอัญมณีแต่ละชนิดก็ใช้เทคนิคที่ต่างกันออกไป โดยคำนึงถึงฟังก์ชั่นและสุนทรียศาสตร์ในการออกแบบ ไปจนถึงองค์ประกอบอื่น ๆ อย่าง ความเปราะบาง ความโปร่งใส การเจียระไน และขนาดของอัญมณี

    - ที่ “Atelier de l’Extraordinaire” คือ แหล่งบ่มเพาะเหล่าช่างฝีมือชั้นเลิศที่เดินตามปรัชญา ”Always do better than necessary” ของเพียเจต์อย่างยึดมั่น แต่ละชิ้นงานจึงไม่ใช่การออกแบบตามกระแส แต่เป็นการสร้างสรรค์เรื่องราวบทใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง อย่างเช่น Limelight Gala High Jewellery ชิ้นนี้ ที่ ท้าทายขีดจำกัดด้วยการปรับแต่งรูปแบบการฝังอัญมณีให้หลากหลาย เพื่อให้เกิดประกายในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเดิม

    The Limelight Gala Precious
    Radiance, intensity, และ vibrancy คือ 3 คำจำกัดความของ Limelight Gala Precious โดยไฮไลท์อยู่ที่สีเขียวของหน้าปัด มาลาไคท์ ท่ามกลางซาวอไรต์และเพชรรายล้อม โดยเกณฑ์ที่เมซงหยิบมาใช้ในการเลือกมาลาไคท์ คือ มีโทนสีเขียวเข้มตัดสลับลวดลายกับวงสีอ่อน, มีเส้นโค้งเว้า และต้องปราศจากผลึกแทรกตามโครงสร้างของอัญมณี

    Limelight Gala Precious คือ เรือนเวลาที่ต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ และถ่ายทอดนิยามใหม่จากคอลเลคชั่น patrimony ของเมซงในอดีต กับตัวเรือนไวท์โกลด์ขนาด 32 มิลลิเมตร โดดเด่นด้วยหน้าปัด มาลาไคท์ที่มาพร้อมวงกลมประดับเพชร ณ ตำแหน่งศูนย์กลาง ซึ่งแต่ละเม็ดถูกฝังอย่างประณีตด้วยเทคนิค snow setting

    Tsavorites
    ความท้าทายของเมซงในครั้งนี้ นอกจากจะต้องสรรหาซาวอไรต์ที่ไล่เฉดสีงดงามแล้ว แต่ละเม็ดต้องผ่านกระบวนการเจียระไนแบบ บริลเลียนต์คัตเพื่อส่งมอบแสงระยิบระยับให้เด่นชัดที่สุด ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าไม่ใช่เรื่องง่ายในการใช้รูปแบบการเจียระไนนี้กับกลุ่มหินสี ในแง่ทางสุนทรียศาตร์ จำนวนเหลี่ยมของซาวอไรต์ก็ถูกเจียระไนให้เท่ากับเหลี่ยมของเพชรอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งยังปรับแต่งสัดส่วนให้รับกับฐานรองได้อย่างไร้ที่ติ

    ขณะที่การแสวงหาก็ใช้เวลาอยู่หลายเดือนเพื่อให้ได้เฉดสีตามมาตรฐานที่เมซงกำหนด เพราะไม่เพียงแค่ร้อยเรียงอย่างวิจิตรบนเรือนเวลาแต่ละชิ้นเท่านั้น แต่นัก อัญมณีศาสตร์ต้องการนำเสนอเฉดสีให้กลมกลืนทั่วทั้งคอลเลคชั่นอย่างแท้จริง นี่จึงเป็นอีกเหตุผลว่า ทำไมความยากในการตามหายิ่งทวีคูณ

    Limelight Gala Precious จับคู่สายรัดข้อมือที่คราฟต์ขึ้นอย่างประณีตด้วยวัสดุชนิดเดียวกัน โดยแบรนด์เลือกใช้เทคนิคหัตถศิลป์เก่าแก่อย่าง Palace Décor มาผสานไว้ได้อย่างแยบยล มอบสัมผัสที่พลิ้วไหวราวกับชุดเดรสโอต์ กูตูร์ ที่หรูหรา ขอบตัวเรือนประดับเพชร 174 เม็ด และซาวอไรต์ 22 เม็ด ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 22 ชั่วโมงในการตกแต่ง ทั้งยังเสริมความเป็นเลิศด้วยการใส่ระบบกลไกอัตโนมัติที่ผลิตขึ้นในโรงงานของเมซง อย่าง 501P1 ไว้อีกด้วย

    และนี่คืออีกบทพิสูจน์ของแบรนด์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายในการสร้างสรรค์เรือนเวลาในมิติที่แตกต่างออกไป โดยที่ไม่ละทิ้งเทคนิคระดับสูงแม้แต่น้อย กับ 2 คีย์พีซเด่นจากซีรีส์ Limelight Gala อย่าง Limelight Gala High Jewellery และ Limelight Gala Precious ที่พร้อมเจิดจรัสไปกับเหล่าสุภาพสตรี

    สัมผัสเรือนเวลาและเครื่องประดับชั้นสูงจากเพียเจต์ (Piaget) ได้แล้ววันนี้ ณ เพียเจต์ บูติค โดย เอส ที ไดเมนชั่น ชั้น M สยามพารากอน โทร . 02-610-9678

    Fashion

    Placeholder image

    HERMÈS OPENS ITS 19TH LEATHER WORKSHOP IN SAINT-VINCENT-DE-PAUL (GIRONDE)

    Ever since the house was established in 1837, Hermès has always sought to preserve the artisanal dimension of its manufacturing, which is a source of durability, creativity, agility and innovation.

    Placeholder image

    VALENTINO VINTAGE

    The multiform universe of the Maison is composed of infinite constellations. They are the clothes of past collections. Ever-changing, in constant motion, yet almost eternal. Valentino Vintage is the first journey through these collections, now recognized, redefined, reinterpreted.

    Placeholder image

    DIOR PRESENTS SCARVES FROM THE 2022 CRUISE

    Essential accessories in the Dior Cruise 2022 collection by Maria Grazia Chiuri, scarves are unveiled in a series of captivating shots by the photographer Brigitte Niedermair. Playing with duality at the intersection of Surrealism and mythology,...

    Placeholder image

    DKNY PURE Collection ในคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ร่วง ปี 2021

    คอลเลคชั่นฤดูใบไม้ร่วง ปี 2021 จาก DKNY แบรนด์ซึ่งมี DNA ของมหานครนิวยอร์กอย่างถ่องแท้ เมืองที่แม้จะเต็มไปด้วยความเร่งรีบวุ่นวายทว่าแฝงไปด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่น ทั้งยังเต็มเปี่ยมไปด้วยเสน่ห์และความฝันที่เต็มไปด้วยพลังอย่างไม่มีที่สิ้นสุด...

    Placeholder image

    “Stella Shared 3” ยูนิเซ็กซ์แคปซูลคอลเลคชั่นใหม่จาก STELLA McCARTNEY

    STELLA McCARTNEY นำเสนอ “Stella Shared 3” แคปซูลคอลเลคชั่นที่สามารถสวมใส่ได้ทั้งสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี โดยเป็นคอลเลคชั่นเสื้อผ้าที่เลือกสำรวจคุณค่าและสุนทรียะร่วมของเสื้อผ้าในคอลเลคชั่นฤดูหนาวปี 2021...

    Placeholder image

    DIOR PRESENTS THE DIOR BOBBY BAG IN A NEW EAST-WEST FORMAT

    For the Dior 2022 Cruise collection, Maria Grazia Chiuri reinterpreted the iconic Dior Bobby bag in an original, rectangular East-West format. Available in black, latte, rose des vents pink, amber, or yellow, it comes with a short,...

    Placeholder image

    BURBERRY REVEALS THE HERO CAMPAIGN - STARING ADAM DRIVER

    ‘Creating a fragrance is such a personal and intimate process, and I especially felt this for Hero – my first fragrance for Burberry. I wanted Hero to encapsulate modern masculinity, to play on the essence of primal human and animal..