โดย ธิโบต์ วิโชวาน็อก แปล ธารินี เปาริสคุตตะ
หลังจากซิกมา โพลเคอ ในปี 2016 ฟร็องซัวส์ ปิโนลต์ ก็ได้มอบ ปาลาซโซที่เวนิสแห่งนี้เพื่อแสดงผลงานของอาร์ติสต์ชาวเยอรมันอีกครั้ง เป็นเวลาหลายเดือนที่อัลเบิร์ต โอห์เลน วัย 63 ปี ได้ครอบครองปาลาซโซ กราสซี (Palazzo Grassi) โดยจัดแสดงภาพวาดสีน้ำมันมากกว่า 80 ภาพจนถึงเดือนมกราคม ปี 2019 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนิทรรศการที่อยู่ในความดูแลของคาโรลีน บูร์ชัวส์ (Caroline Bourgeois) อย่างไรก็ตาม อาร์ติสต์ท่านนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักของสาธารณชนนักเมื่อเทียบกับโพลเคอ ที่ประเทศฝรั่งเศสเขาเป็นที่รู้จักจากเพียงสองนิทรรศการใหญ่ คืองานที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ในกรุงปารีสซึ่งจัดในปี 2009 และงานนิทรรศการที่เมืองสตราส์บูร์ก (Strasbourg) ปี 2002 (ถึงแม้ว่าพิพิธภัณฑ์ศิลปะวิลล่า อาร์ซง จะเป็นตัวแทนนำเสนอผลงานของเขาตั้งแต่ปี 1994) จนมาในปี 2015 นิวยอร์คได้จัดนิทรรศการครั้งใหญ่ขึ้นที่นิว มิวเซียม (New Museum) ซึ่งดูจะกลายเป็น “ช่วงเวลาของโอห์เลน” ที่จะได้นำเสนอผลงาน ต่อมาในเดือนมีนาคม 2017 บริษัทคริสตี้ส (Christie’s) ที่กรุงลอนดอน เปิดเผยว่าสามารถจำหน่ายภาพ Selbstporträt mit Palette (Autoportrait with palette) จำนวน 2,965,000 เล่ม (ราคาประมาณ 3,365,000 ยูโร) ซึ่งมากกว่าสถิติเดิมที่เคยทำไว้ถึงสองเท่า ผู้ค้างานศิลปะที่มีชื่อเสียงอย่างโจเซฟ นาห์แมด (Joseph Nahmad) ได้จัดงานนิทรรศการให้เขาครั้งหนึ่งในเดือนพฤศจิกายน ปี 2017 และเพื่อดำเนินตามแนวทางนี้ แกลเลอรีของเขาที่เยอรมนีซึ่งมีชื่อว่าแม็กซ์ เฮ็ตซเลอร์ (Max Hetzler) ได้นำเสนอผลงานใหม่ๆ ในเดือนมีนาคมก่อนที่จะมีนิทรรศการอีกครั้งที่ปารีสเพื่อเป็นการชิมลางก่อนจะกลับมา และในช่วงเวลาเดียวกัน อาร์ติสต์ท่านนี้ก็ได้รับคำเชิญจากแกลเลอรีกาโกเซียน (Gagosian) ที่ปารีส
ทุกอย่างที่กล่าวมานั้นเรียกได้ว่าอัลเบิร์ต โอห์เลนคือพั้งค์อย่างแท้จริง หากดูผลงานภาพวาดสีน้ำมันของเขาดีๆ จะเห็นว่ามีความปฏิเสธกฎแบบยุค 70 อยู่น้อยกว่างานแบบโพสต์โมเดิร์นที่ค่อนข้างสะดุดตา ผลงานภาพจิตรกรรมของเขาอ้างอิงมาจากหลายสิ่งซึ่งเป็นการผสมผสานสไตล์หนึ่งเข้ากับสิ่งอื่น เช่น งานแบบยุคหลังวัฒนธรรมป็อป (post-pop) ยุคหลังศิลปะรูปลักษณ์ (post-figuration) ยุคหลังแอ็บสแตร็ค (post-abstraction) และยุคหลังเทคโนโลยี สมัยใหม่ …ซึ่งทำให้เราคิดถึงอาร์ติสต์นามโพลเคอ (Polke) อย่างเห็นได้ชัด และทำให้นึกถึงวิลเลิม เดอ โกนิง (Willem de Kooning) ซึ่งเป็นอาจารย์ อีกทั้งมาร์ติน คิปเพนแบร์เกอร์ (Martin Kippenberger) ผู้เป็นสหาย รวมถึงไบรซ์ มาร์เด็น (Brice Marden) … ซึ่งทุกคนอยู่ในบริบทของงานจิตรกรรมแห่งศตวรรษที่ 20 อันหลอมรวมขึ้นจากฝีมือของพวกเขา
นับตั้งแต่ปี 80s โอห์เลนเป็นที่รู้จักจากผลงานภาพวาด สีน้ำมันซึ่งเป็นศิลปะรูปลักษณ์ (Figurative Art) ที่ดูผุกร่อน ผลงานที่มีชื่อเสียงอย่าง Gegen den Liberalismus [Against Liberalism] (ปี 1980) เป็นภาพม้าไม้บนเนิน เด็กผู้ชายดูมีอารมณ์ขัน ต่อมาผลงานภาพของเขาดูเป็นนามธรรมขึ้น ซึ่งเขาชอบคำว่า “post-non-figuration” ภาพต่างๆ เกิดขึ้นจากองค์ประกอบของสีที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นเส้นสาย รอยขีดอันไร้ระเบียบ การนำเสนอเพียงลักษณะเดียว…ในปี 1992 เกิดการพลิกผันครั้งใหม่ขึ้น โอห์เลนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างสรรค์งานจิตรกรรมจากคอมพิวเตอร์ ให้เกิดเป็นภาพเส้นสายและรูปทรงสีดำที่ปรากฏซ้ำๆ และไม่ชัดเจน ทำให้เราคิดถึงเครื่องมินิเทล (Minitel) ต่อมาในปี 1997 เขาสร้างสรรค์ผลงานซีรีส์ภาพวาดสีเทา ต่อด้วยผลงานซีรีส์ภาพชุด Trees ที่จำกัดอยู่เพียงการใช้สีดำผสมกับอีกสีหนึ่งบนพื้นขาว ในอีกแง่หนึ่งจะเห็นได้ว่าสีสันปรากฏอย่างชัดเจนราวกับบนภาพคอลลาจ (collage) หรืองานตัดต่อภาพสไตล์ป๊อปจาก ปี 2009-2010 ที่ผสมผสานโลโก้และผลิตภัณฑ์ที่บริโภคกันอย่าง กว้างขวาง โอห์เลนสร้างสรรค์ขึ้นมาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจากภาพจำนวนมากที่ดูไม่เข้ากันและหลากสีสันอันเกิดจากความบ้าคลั่งการบิดเบือน รูปแบบ ทำให้เกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง หรือเนรมิตงานจิตรกรรมภายใต้ ข้อกำหนดและวิถีทางของเขา
ทุกอย่างเป็นการตั้งคำถามถึงการบิดเบือนมาตรฐานและกฎเกณฑ์ซึ่งถูกทำลาย ทุกอย่างเป็นการตั้งคำถามถึงการบิดเบือนมาตรฐานและกฎเกณฑ์ซึ่งถูกทำลายโดยการไม่เดินตามแนวทางอันโอ้อวดของอาร์ติสต์และความวุ่นวายที่ถูกควบคุมไว้ ผลงานดูเหมือนว่าไม่สามารถลดทอนรายละเอียดลงได้หรือจำแนกประเภทได้ อันที่จริงนั้นนิทรรศการที่ปาลาซโซ กราสซี ไม่ยอมเสี่ยงแต่เลือกที่จะผสมผสานยุคสมัยต่างๆ เข้าไว้ด้วยกันเสียมากกว่า ผลงานของเขาไร้รากเหง้าและไม่เนื่องด้วยเวลา ผลงานตัดต่อภาพในสไตล์ป็อปก็สร้างสรรค์ขึ้นใน ยุค 80 ด้วยเช่นกัน ผลงานเมื่อไม่นานมานี้อย่าง Conduction ทำขึ้นมาในช่วงทศวรษ 2010 ทำให้นึกถึงงาน Computer Paintings จากยุค 90 เบื้องหลังความโกลาหลที่เห็นได้ชัดนั้น ทุกอย่างถูกควบคุมไว้มาก ทุกสิ่งที่อ้างอิงถูกลบล้างเสียหมดจนปราศจากบริบท ไม่สามารถปะติดปะต่อกับจุดเริ่มต้นได้และในที่สุดก็ถูกผสมผสานลงในภาพผลงานของโอห์เลนซึ่งไม่มีอะไรมากไปกว่าพื้นผิวที่เห็น รูปทรงอันบริสุทธิ์ดู สะดุดตาจนเกิดความประทับใจ นอกเหนือไปจากภาพวาดสีน้ำมันที่ นำมาจัดแสดงในนิทรรศการ อาร์ติสต์ท่านนี้นำเสนอศิลปะการแสดงอีกด้วย โดยนักแสดงชายสวมบทเป็นอาร์ติสต์ท่านนี้ ที่ลานของปาลาซโซ กราสซี ถูกเนรมิตโดยช่างฝีมือขึ้นมาได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง เขาวาดภาพ “ในแบบของโอห์เลน” และแล้วโอห์เลนตัวจริงก็ปรากฏตัว การแสดงตลกและการเรอของนักแสดงสร้างเสียงหัวเราะ ทุกอย่างถูกสร้างขึ้นมาอย่างบริสุทธ์และไร้แก่นสาร วิธีทางอันเย้ยหยันนี้บางทีอาจทำให้เกิดข้อจำกัดในผลงานภาพของเขา แต่คำถามก็คือว่าผู้ชมจะรู้สึกหลงใหลและรู้สึกประทับใจไปด้วยหรือไม่
แน่นอนที่สุดก็คือว่าความน่าดึงดูดใจ อยู่ที่คุณภาพที่มาเป็นอันดับหนึ่งของผลงานซึ่งก็คือด้านดนตรี โอห์เลนหลงใหลในดนตรีแจ๊สแบบฟรีสไตล์ รวมถึงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (วง Plastikman) ดนตรีกรั๊นจ์ (วง Melvins) อินดี้ร็อค (วง Dirty Projectors, Deerhoof) เขาสร้างสรรค์ภาพวาดสีน้ำมันเฉกเช่นสกอร์เพลง โน้ตเพลงหรือ ท่อนสร้อยบรรเลงซ้ำๆ โดยไม่หยุดท่ามกลางผลงานภาพวาดสีน้ำมันในชุดเดียวกัน การด้นสดทำให้ความซ้ำซากหยุดชะงักลง ทุกๆ นิทรรศการที่จัดขึ้นเปรียบเสมือนการสร้างสรรค์สกอร์เพลงแจ๊สฟรีสไตล์อย่าง ยิ่งใหญ่ ใจความสำคัญต่างๆ เวียนมานำเสนอจากห้องหนึ่งสู่อีกห้องหนึ่งด้วยความต่าง ซึ่งเป็นการด้นสดหรือมีความเปลี่ยนแปลง เล็กน้อยของท่วงทำนอง เสมือนความหลากหลายอันไม่สิ้นสุดซึ่งเกิดจากใจความหลัก เสมือนต่างหูห่วง ท่อนเพลงเทคโนที่มีจังหวะติดหู ความหลากหลายที่แฝงอยู่จะก้องกังวานอยู่เพียงแค่ในร่างกายที่ ตกอยู่ในภวังค์ภายใต้สารเสพติด ดังนั้น ณ ที่ปาลาซโซ กราสซี ความน่าดึงดูดใจจะทำให้เกิด “ความน่าตื่นเต้น” ที่ว่านี้
“ผมเป็นดีไซเนอร์ สถาปนิก ประติมากร เอ็นจิเนียร์ และศิลปิน” บอดีส อิเซ็ก คินเกเลส (Bodys Isek Kingalez) กล่าวในช่วงยุค 70 ในประเทศแซร์ (Zaire) ...
โอลี ชีเร็น (Ole Scheeren) ชาวเยอรมันผู้ได้ร่วมงานกับ แร็ม คูลฮาส (Rem Koolhaas) จนกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 21 จากผลงานการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน ...
ไอคอนสยาม (ICONSIAM) อภิมหาโครงการ เมืองแห่งการใช้ชีวิตสู่โลกอนาคตและสัญลักษณ์แห่ง ความรุ่งโรจน์ของประเทศไทยบนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ...
ไอคอนสยาม เป็นโครงการศูนย์การค้าและความบันเทิงขนาดใหญ่ บทพื้นที่กว่า 525,000 ตารางเมตร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเป็นจุดหมายปลายทางของความเป็น “สุดยอดของโลก” ...
For the Prada FW 2018 Men's and Women's fashion show, AMO converts the depositories of Viale Ortles, Milan, into an oneiric and surreal archive, where the multifaceted essence of Prada comes to life, ...
Louis Vuitton is pleased to announce the opening of the "Time Capsule" exhibition in Bangkok, from September 7th until 25th. Louis Vuitton and Siam Paragon are teaming up to present Time Capsule Bangkok, a journey...
The Costume Institute's Rei Kawakubo/Comme des Garçons: Art of the In-Between Exhibition Closes Labor Day Weekend. The exhibition examines Kawakubo's fascination with interstitiality, or the space between boundaries.
TWO NEW OCTO SPECIAL EDITIONS CELEBRATE AND PERPETUATE THE HIGHLY EXCLUSIVE PARTNERSHIP BETWEEN THE TWO BRANDS. Prestige, luxury, elegance and design: these are the keywords governing and guiding the partnership...
American singer and songwriter, Taylor Swift (IG @taylorswift 102M followers) wears Bulgari’s iconic Serpenti Collection in the highly anticipated music video of her latest single...
‘Playful eclecticism’ คือสุนทรียภาพแห่งความสนุกสนานที่แอร์เมสใช้ในบอกเล่าเรื่องราวผ่านคอลเลกชั่น โดยNadège Vanhée-Cybulski เลือกที่จะนำเสนอในมุมมองใหม่ผ่านโครงสร้างเสื้อผ้าในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้โทนสีที่ดูทันสมัยและสดใสยิ่งขึ้นอย่างสีแดง...