โดย ธิโบต์ วิโชวาน็อก แปล ธารินี เปาริสคุตตะ
เป็นที่ทราบกันดีว่าดูไบเป็นแหล่งกำเนิดความลึกลับอันไม่สิ้นสุด เราไม่แน่ใจว่างานอาร์ตแฟร์ที่จัดขึ้นแต่ละปีนั้นจะเปิดผ้าคลุมหน้าด้วยหรือไม่ งานอีเว้นท์นี้รวบรวมแกลเลอรี 105 แห่งจาก 48 ประเทศจนประสบความสำเร็จกลายเป็นเวทีงานศิลปะทางตะวันออกกลางที่ไม่อาจเทียบได้ การเปล่งประกายครั้งใหญ่นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ อาบูดาบี (Louvre Abu Dhabi) ในละแวกใกล้กันและความยอดเยี่ยมของมูลนิธิศิลปะในรัฐชาร์จาห์ (Sharjah Foundation)…ไม่มีอะไรที่ดูจะเป็นความลับนอกเสียจากที่นั่น อย่างไรก็ตาม งานอาร์ต ดูไบ (Art Dubai) ก็มีปริศนาด้วย เช่นกัน และในพื้นที่จัดแสดงงานในส่วนที่ทันสมัยของงานแฟร์ไม่ใด้เป็นเพียงแค่น้ำหมึกบนกระดาษของฮาเหม็ด แอ็บดัลลา (Hamed Abdalla) คำถามก็คือภาพวาดที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ อันรุนแรงที่ดูลึกลับจะเป็นที่ยอมรับของชาวเอมิเรตส์หรือไม่ อันที่จริงแล้ว แกลเลอรีมาร์ค ฮาเช็ม (Mark Hachem) (ในกรุงเบรุตส์ ปารีส นิวยอร์ค) ไม่หยุดที่จะนำเสนอจิตรกรรมแผงอันสื่อถึงความรื่นรมย์ในเนื้อหนังมังสาผ่านภาพวาด นับสิบภาพของชาวอียิปต์ ร่างกายถูกนำเสนอผ่านภาพวาดแห่งโลกีย์เชิงนามธรรมที่ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเข้าไว้ด้วยกัน ทั้งข้างหลังหรือข้างหน้า ไม่มีส่วนไหนที่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศ ไม่มีอะไรที่เป็นความอนาจาร ความอ่อนโยนของสีสันและความสง่างามของท่วงท่าที่แปรเปลี่ยนอย่างเย้ายวน เป็นการยกระดับจิตวิญญาณให้สูงส่งยิ่งขึ้นสู่จิตวิญญาณ อันเลิศลํ้า ผลงานเหล่านี้สร้างสรรค์ขึ้นในปี 1961 หนึ่งในผลงานที่สวยที่มีชื่อไพเราะที่สุดว่า The World That Creates ฮาเหม็ด แอ็บดัลลา เกิดในปี 1917 ที่กรุงไคโรและเสียชีวิตในปี 1985 ที่กรุงปารีส ผู้ปกป้องวัฒนธรรมอาหรับผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองจนกระทั่งลี้ภัย เขาได้พลิกรูปแบบของตัวอักษรอาหรับด้วยความอัจฉริยะไปสู่รูปแบบที่งดงามยิ่ง ผลงานชิ้นโบว์แดงหลายชิ้นมีความใกล้เคียงกับปิกัสโซ (Picasso) และเกรโค (Greco) ซึ่งนำมาจัดแสดงให้ชมที่งานแฟร์นี้ด้วย
ร่างกาย ยังคงเป็นคำถามอยู่บนดิสเพลย์อันสวยงาม ของแกลเลอรีแดสแตนส์ เบสเมนต์ (Dastan’s Basement Gallery) ในกรุงเตหะรานด้วยผลงานสองสามชิ้นของเฟเรย์โดน อาวี (Fereydoun Ave) ผู้อุปถัมภ์งานศิลปะร่วมสมัยของอิหร่าน อาร์ติสต์ท่านนี้เกิดในปี 1945 และเป็นผู้สร้างสรรค์ ผลงานชิ้นสำคัญเกี่ยวกับรอสแตม (Rostam) นักต่อสู้ในยุคก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเกิด มหากาพย์ของเขาถูกขีดเขียนขึ้นโดยกวีนามเฟอร์ดาวซี (Ferdowsi) แต่ถูกถ่ายทอดในลักษณะของนักต่อสู้ร่วมสมัยตามภาพลักษณ์ของวีรบุรุษในตำนาน วิดีโอที่ดูหลอนในแบบงานไซคีเดลิค (Psychedelic) ฉายให้เห็นเป็นภาพพร้อมๆ กับคู่ปรปักษ์ นับเป็นนิทานเปรียบเทียบที่สวยงาม เต็มไปด้วยอารมณ์และตัณหา ร่วมถึงการต่อสู้ทางการเมือง เป็นการตีแผ่ให้เห็นถึงร่างกายที่สวยงามกลายเป็นเกมทางการเมืองครั้งสำคัญในยุคสมัยของเราอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ร่างกายและการเมืองมักจะมาพร้อมกับรางวัล Abraaj Prize เสมอ รวมถึงงานอาร์ตดูไบครั้งล่าสุด ลอว์เร็นซ์ อาบู แฮมดัน (Lawrence Abu Hamdan) เกิดที่ประเทศจอร์แดนในปี 1985 ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเบรุตและ กรุงเบอร์ลิน เขาคือหนึ่งอาร์ติสต์ผู้มีความตั้งมั่นที่สุดและเฉลียวฉลาดที่สุดในยุคสมัยซึ่งหาใครเทียบได้ยาก สำหรับเขา ร่างกายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้ด้วยเสียงพูดและโทนเสียง ที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เขาชื่นชอบ แกลเลอรีมอร์ ชาร์ป็องติเยร์ (Mor Charpentier) ในกรุงปารีสเป็นตัวแทนนำเสนอผลงานของเขา ครั้งล่าสุดคือ ซีรีส์ผลงานภาพชุด Disputed Utterance เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่ความผิดได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและถูกระงับด้วยการตีความมาเป็นประโยคหรือคำพูดจากปากของพยาน อาร์ติสต์ท่านนี้ได้นำเสนอหลายตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเย้ยหยัน อย่างเช่นเรื่องราวของหมอชาวอเมริกันที่ได้พูดกับคนติดยาคนหนึ่งแบบไร้ความรับผิดชอบว่าเขา “สามารถฉีดสิ่งเหล่านี้ได้เอง” (“you can”) แต่อย่างไรก็ตาม จากการสอบสวนชี้ให้เห็นว่าหมอคนนั้นพูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงกรีกซึ่งทางคำพูดได้ลบล้างความหมายในแง่ลบ “คุณไม่สามารถ” (“you can’t”) เกร็ดประวัติแต่ละเรื่องซึ่งควรค่าแก่การเป็นนวนิยายของโจนาธาน ฟรานเซ็น (Jonathan Franzen) มาพร้อมกับภาพวาดจากถ่านและภาพถ่ายที่นำเสนอขั้นตอนการออกเสียงซึ่งเป็นเทคนิคที่บอกได้ว่าส่วนใดของปากถูกใช้ไปกับการเปล่งเสียงที่ต่างกัน ออกมา หรือเมื่อร่างกายโดยทางปากหรือทางคำพูดได้กลายไปเป็นฉากอาชญากรรม สำหรับอาบู แฮมแดน เสียงพูดเปรียบเสมือนสื่อที่นำเสนอเนื้อหาขั้นสูงทางการเมืองและสังคม ที่มีอิทธิพลต่อความเป็นจริง (เช่น การทำผิดของมนุษย์คนหนึ่งซึ่งทุกอย่างเผยถึงคนๆ นั้น (ว่ามาจากไหนหรืออยู่ในสังคมแบบใด)
โลร็องซ์ อาบู แฮมแดน ไม่ใช่สมบัติเพียงชิ้นเดียวของงานอาร์ตดูไบ ที่ร่ำลือไปถึงประเทศฝรั่งเศส แกลเลอรีอีมาน ฟาเรส์ (Imane Farès Gallery) ตั้งอยู่ที่ถนนมาซารีน (Mazarine) ในกรุงปารีสก็คู่ควรที่จะได้ไปจัดแสดงที่งานแฟร์นี้และได้รับรางวัล Abraaj Prize (อาร์ติสต์สองคนของ แกลเลอรีได้รางวัล) นับตั้งแต่ปี 2010 อีมาน ฟาเรส์ ได้ปกป้องไว้อย่างแรงกล้าและคงไว้ซึ่งรสนิยมของอาร์ติสต์จากตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา และไม่เพียงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น อาลี เชอร์รี (Ali Cherri) ผ่านการคัดเลือกให้ได้รางวัล Abraaj Prize โดยหลายปีมาแล้วที่อาร์ติสต์ชาว เลบานอนท่านนี้สนใจในสถานที่อันเต็มไปด้วยเรื่องราวทางโบราณคดีอันก่อให้เกิดเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ สิ่งต่างๆ ทางโบราณคดี แจกัน หรือรูปปั้นโดยเห็นได้จากที่อาลี เชอร์รี ได้ซื้อจากร้านต่างๆ ที่ขายแล้วเอามาทำใหม่หรือประกอบ ขึ้นใหม่ ท่าทางอันย้อนแย้งที่เอาความลับออกจากวัตถุโบราณและออกจากบริบทเพื่อตั้งคำถามถึงมูลค่าว่าทำไมของชิ้นนี้ถึงมีค่า อะไรเป็นสิ่งที่บอกมูลค่าของวัตถุโบราณจากสมัยอดีตได้ในยุคสมัยของเรา ของชิ้นนี้มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ชาติอย่างไร สำหรับอาลี บริบทในอดีตเผชิญหน้ากับบริบทในปัจจุบันเสมอเพื่อให้เปิดเผยออกมาได้ดียิ่งขึ้น ส่วนอาร์ติสต์ที่ดีอีกท่านหนึ่งของแกลเลอรีอีมาน ฟาเรส์ ก็ได้รับการคัดเลือกให้ได้รางวัล Abraaj Prize ด้วยเช่นกัน บาสมา อัลชาริฟ (Basma Alsharif) ได้รับการนำเสนอที่ดูไบซึ่งเป็นผลงานชุดภาพถ่ายจำนวนสิบภาพในชื่อ A Land Without a People อารติสต์ชาวปาเลสไตน์ท่านนี้แน่นอนว่าผลงานอ้างอิงมาจากคำพูดที่มีชื่อเสียงซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการไซออนิสต์ (Zionism) ที่ว่า "A land without a people for a people without a land" แต่ที่นี่นั้น ผืนดินว่างเปล่า (คำว่า “empty” ปรากฏอยู่บนรูปภาพ) เป็นเพียงหนึ่งในวิถีแบบชาวแคลิฟอร์เนีย ผืนดินอันกว้างใหญ่ทางตะวันตกถูกพิชิตไปโดยนักล่าอาณานิคมชาวอเมริกัน…ผืนดินแห่งฮอลลีวูดแผ่อาณานิคมไปทั่วโลก ตั้งแต่แคลิฟอร์เนียจนถึงปาเลสไตน์โดยผ่านทางดูไบ ทะลทรายคือผืนดินอันอุดมสมบูรณ์สำหรับพวกอาร์ติสต์
“ผมเป็นดีไซเนอร์ สถาปนิก ประติมากร เอ็นจิเนียร์ และศิลปิน” บอดีส อิเซ็ก คินเกเลส (Bodys Isek Kingalez) กล่าวในช่วงยุค 70 ในประเทศแซร์ (Zaire) ...
โอลี ชีเร็น (Ole Scheeren) ชาวเยอรมันผู้ได้ร่วมงานกับ แร็ม คูลฮาส (Rem Koolhaas) จนกลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่ทรงอิทธิพลด้านสถาปัตยกรรมแห่งศตวรรษที่ 21 จากผลงานการก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน ...
ไอคอนสยาม (ICONSIAM) อภิมหาโครงการ เมืองแห่งการใช้ชีวิตสู่โลกอนาคตและสัญลักษณ์แห่ง ความรุ่งโรจน์ของประเทศไทยบนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ...
ไอคอนสยาม เป็นโครงการศูนย์การค้าและความบันเทิงขนาดใหญ่ บทพื้นที่กว่า 525,000 ตารางเมตร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะเป็นจุดหมายปลายทางของความเป็น “สุดยอดของโลก” ...
For the Prada FW 2018 Men's and Women's fashion show, AMO converts the depositories of Viale Ortles, Milan, into an oneiric and surreal archive, where the multifaceted essence of Prada comes to life, ...
Louis Vuitton is pleased to announce the opening of the "Time Capsule" exhibition in Bangkok, from September 7th until 25th. Louis Vuitton and Siam Paragon are teaming up to present Time Capsule Bangkok, a journey...
The Costume Institute's Rei Kawakubo/Comme des Garçons: Art of the In-Between Exhibition Closes Labor Day Weekend. The exhibition examines Kawakubo's fascination with interstitiality, or the space between boundaries.
TWO NEW OCTO SPECIAL EDITIONS CELEBRATE AND PERPETUATE THE HIGHLY EXCLUSIVE PARTNERSHIP BETWEEN THE TWO BRANDS. Prestige, luxury, elegance and design: these are the keywords governing and guiding the partnership...
American singer and songwriter, Taylor Swift (IG @taylorswift 102M followers) wears Bulgari’s iconic Serpenti Collection in the highly anticipated music video of her latest single...
‘Playful eclecticism’ คือสุนทรียภาพแห่งความสนุกสนานที่แอร์เมสใช้ในบอกเล่าเรื่องราวผ่านคอลเลกชั่น โดยNadège Vanhée-Cybulski เลือกที่จะนำเสนอในมุมมองใหม่ผ่านโครงสร้างเสื้อผ้าในรูปแบบที่ต่างไปจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้โทนสีที่ดูทันสมัยและสดใสยิ่งขึ้นอย่างสีแดง...