ระยะเวลากว่าหลายปีที่ซัลวาทอเร่ เฟอร์รากาโมใช้ชีวิตอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองแซนตาบาร์บารา (Santa Barbara) รัฐแคลิฟอร์เนียตั้งแต่ปี 1915-1927 คือ แรงบันดาลใจสำคัญในการจัดทำนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ซัลวาทอเร่ เฟอร์รากาโม โดยภายในนิทรรศการจะมีการจัดแสดงผลงานของเขาที่ได้ร่วมงานกับผู้กำกับที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นอย่าง ดี ดับบลิว กริฟฟิท (D.W. Griffith) และเซซิล บี. เดอมิลล์ (Cecil B. DeMile) ไปจนถึงการเปิดร้านรองเท้าบูทเดอะฮอลลีวูด (The Hollywood Boot Shop) ร้านรองเท้าแห่งแรกของเฟอร์รากาโมซึ่งตั้งอยู่บนถนนฮอลลีวูดโดยมีเหล่านักแสดงผู้มีความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นแมรี่ พิกฟอร์ด (Mary Pickford) โพลา เนกรี (Pola Negri) ชาร์ลี แชปลิน (Charlie Chaplin) โจน ครอว์ฟอร์ด (Joan Crawford) ลิลเลียน กิช (Lilian Gish) และรูดอล์ฟ วาเลนติโน (Rudolph Valentino) ต่างก็เคยเป็นลูกค้าประจำของร้านแห่งนี้ เฟอร์รากาโมได้กล่าวไว้ว่า “ผมเห็นเส้นขนานระหว่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์กับสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่ ธุรกิจภาพยนตร์เองก็เติบโตและพัฒนาขึ้นจากจุดเริ่มต้นที่ไม่มีอะไรเลย และตัวผมมีความหวังที่จะเติบโตและพัฒนาขึ้นไปได้ในแบบเดียวกัน”
อ้างอิงจากอัตชีวประวัติของซัลวาทอเร่ เฟอร์รากาโม นิทรรศการในครั้งนี้ยังได้นำเสนอเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นของชาวอิตาเลียนไปยังรัฐแคลิฟอร์เนีย และอิทธิพลความเชื่อเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเทศที่มีความศิวิไลซ์ของสหรัฐอเมริกา พื้นที่ส่วนใหญ่ในนิทรรศการถูกถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับโปรดักชั่นภาพยนตร์ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชาวอิตาเลียน นิทรรศการนี้จึงได้รวบรวมงานศิลปะ งานช่างฝีมือ และอุตสาหกรรมบันเทิงจากทั่วโลกอันเป็นสิ่งที่เฟอร์รากาโมเลือกนำมาสร้างสรรค์และนำเสนอออกมาราวกับเป็นเค้าโครงเรื่องของภาพยนตร์ ซึ่งเมาริซิโอ บาโล (Maurizio Balò) ได้เลือกใช้สตูดิโอภาพยนตร์อเมริกันในยุค1920 มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานนิทรรศการครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมเกิดความรู้สึกว่าตนเองกำลังอยู่ในสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง
ในช่วงทศวรรษดังกล่าว ภาพยนตร์เงียบสไตล์อิตาเลียนยังให้กำเนิดดีว่าผู้มีความสามารถในวงการฮอลลีวูดอย่างลีโด มาเนตติ (Lido Manetti) ทีนา โมดอตติ (Tina Modotti) แฟรงค์ ปูกลียา (Frank Puglia) และลีนา คาวาลิเอลิ (Lina Cavalieri) ซึ่งจะมีการจัดแสดงภาพวาดในนิทรรศการทั้งหมด 40 ภาพ จากทั้งหมด 300 ภาพวาดของบุคคลที่มีชื่อเสียงโดยมีปิเอโต ฟอนาเซตติ (Pietro Fornasetti) เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานลงบนแผ่นเซรามิก นอกจากนี้ ยังมีหนุ่มสาวชาวอิตาเลียนคนอื่นๆ เช่น รูดอล์ฟ วาเลนติโน (Rudolph Valentino) ซึ่งใช้ความมีเสน่ห์เฉพาะตัวสร้างชื่อเสียง และกลายเป็นดีว่าสมัยใหม่ (Modern Diva)
ยิ่งไปกว่านั้น นิทรรศการครั้งนี้ยังให้ความสำคัญกับชื่อและบุคคลทั้งที่มีชื่อเสียงและไม่มีชื่อเสียง โดยไม่มองข้ามความในเรื่องของดนตรีที่ชาวอิตาเลียนให้การสนับสนุน พร้อมยังคงมีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้น และกลุ่มลัทธิชาวอเมริกันผิวขาวที่มีบรรพบุรุษเป็นโปรแตสแตนท์ (White Anglo-Saxon Protestant – WASP) ซึ่งเป็นทัศนะที่สวนทางกันกับชาวอิตาเลียน-อเมริกัน กล่าวคือ ชาวแคลิฟอร์เนียถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีความคิดเชิงบวกต่อประวัติศาสตร์และประเพณีอันดีงามของอิตาลี และอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีความคิดเชิงลบต่ออุปนิสัยของชาวอิตาเลียนที่มีความเชื่อมั่นในสัญชาตญาณสูง อารมณ์รุนแรง และ มีความอ่อนไหวง่าย ถึงกระนั้นแล้ว ยังมีเหล่านักแสดงที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรมได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังเช่น เอนรีโก คารุโซ (Enrico Caruso) ผู้นำเสนอความสามารถพิเศษด้านการใช้เสียงและร่างกายผ่านศิลปะและเทคนิคต่างๆในสตูดิโอ
งานนิทรรศการครั้งนี้มิอาจเกิดขึ้นได้หากขาดผลงานศิลปะที่ได้รับเกียรติให้ยืมมาจากพิพิธภัณฑ์ ทั้งคอลเลคชั่นจากองค์กรสาธารณะ และของส่วนตัวทั้งจากประเทศอิตาลีและสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงความคิดเห็นและคำแนะนำที่ทรงคุณค่าจากผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ส่งเสริมให้นิทรรศการครั้งนี้ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ภายในนิทรรศการยังมีผลงานภาพยนตร์อเมริกันซึ่งถ่ายทำในอิตาลีในช่วงเวลาดังกล่าวอย่างเบน-เฮอร์ (Ben Hur) และโรโมล่า (Romola) นำแสดงโดยลิลเลียน กิช (Lilian Gish) และถ่ายทำในเมืองฟลอเรนซ์ที่สตูดิโอริเฟรดิ (Rifredi Film Studio)
นิทรรศการครั้งนี้ปิดท้ายด้วยห้องจัดแสดงผลงานที่ให้เกียรติแก่ซัลวาทอเร่ เฟอร์รากาโม โดยทางพิพิธภัณฑ์ได้ทำการสร้างร้านรองเท้าบูทเดอะฮอลลีวูด (The Hollywood Boot Shop) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1923 ขึ้นมาใหม่ และจัดแสดงภาพวิดีทัศน์บอกเล่าเรื่องราวชีวิตในฮอลลีวูดช่วงยุคทศวรรษที่ 20
ฮอลลีวูดในขณะนั้นยังมีขนาดเล็กกว่าเมืองเล็กๆนัก มีสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ขนาดเล็กเพียง 2-3 แห่ง ซึ่งมีงบประมาณไม่มากนัก แต่เมื่อเฟอร์รากาโมเดินทางออกจากสหรัฐอเมริกาในปี 1927 ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไป
@FERRAGAMO #FERRAGAMO #FERRAGAMOTHAILAND
จาก Final Walk สู่ Rising Star คุณสกาย-มาเรีย เฮิร์ชเลอร์ นางแบบลูกครึ่งไทย-เยอรมัน หนึ่งในสี่ คนที่เข้ารอบสุดท้ายจากเวที The Face Thailand เผยถึงนาทีสำคัญสู่สปอตไลต์แห่งวงการแฟชั่นและความฝันติดปีกบนรันเวย์นางฟ้าวิคตอเรียส ซีเคร็ต (Victoria’s Secret)
จากจุดเริ่มต้นงานออกแบบจิวเวลรีมาตั้งแต่อายุ 13 คุณแพ็ท-พัชรวิภา โพธิรัตนังกูร สานฝันสู่จิวเวลรีดีไซเนอร์ภายใต้ชื่อแบรนด์ Patcharavipa ด้วยการทำงานที่มุ่งมั่นมากว่า 3 ปี สาวอาร์ติสต์ผู้มีสไตล์พูดคุยถึงการเปิดแฟล็กชิพสโตร์ที่กรุงเทพฯ ในช่วงปลายปีนี้และเผยถึงการได้ร่วมงานในระดับอินเตอร์ที่ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้น.
จากนักเรียนดนตรีเชลโล่เปลี่ยนท่วงทำนองมาสู่ดีไซเนอร์ โรซ่า คิม (Rosa Kim) นักสร้างสรรค์ชาวเกาหลี ผู้ก่อตั้งและเจ้าของแบรนด์กระเป๋าโรซ่า เค (Rosa.K) ที่มาเปิดป๊อปอัพในประเทศไทยที่ชั้น 2 ของห้างเซ็นทรัลเอ็มบาสซี ให้สัมภาษณ์แบบเอ็กซ์คลูซีฟกับนูเมโร ไทยแลนด์ถึงการสร้างสรรค์และฟังก์ชั่นกระเป๋าอันชาญฉลาด...
ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจรีเทลที่ต้องเดินหน้าและปรับตัวให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว สยามพิวรรธน์ ยังคงขึ้นแท่นความเป็นหนึ่งมาโดยตลอดและไม่หยุดที่จะพัฒนาเพื่อตอกย้ำคีย์เวิร์ดสำคัญคือ "The Icon of Innovative Lifestyle” คุณน้อง-มยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส...
พูดคุยกับสองสาวพี่น้องศรีกาญจนา คุณพิมพ์พยัพ และคุณพลอยพยัพ เผยถึงธุรกิจ Lady Nara ร้านอาหารสไตล์ฟิวชั่นเปิดใหม่ที่เซ็นทรัลเอ็มบาสซีในบรรยากาศที่สดใสซึ่งนับเป็นความท้าทายครั้งใหม่หลังจากความสำเร็จนับสิบปีของ Nara. แบรนด์ไทยดีไซเนอร์ระดับแถวหน้าซึ่งเป็นที่รู้จักมากว่า 17 ปี ทุกรันเวย์ของ Tube Gallery...
ความชอบในสิ่งที่ตัวเองเป็นและทำในสิ่งที่ตัวเองชอบคือสิ่งที่คุณโอ๋-หทัยรัตน์ เจริญ-ชัยชนะ หรือโอ๋ ฟูตอง (Futon) อาร์ติสต์มากความสามารถยึดถือในการใช้ชีวิต ทั้งในเรื่องสไตล์ส่วนตัวและผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาหลากหลายแง่มุม ล่าสุดเธอมีโปรเจ็กต์ในด้านแฟชั่นออกมาในระดับอินเตอร์ นูเมโรไทยแลนด์จึงตามอัพเดทแง่มุมการทำงานที่น่าสน...
โอลิวิเยร์ อาส์ซายาส์ (Olivier Assayas) นักเขียนและผู้กำกับชาวฝรั่งเศสสร้างภาพยนตร์ลี้ลับเหนือธรรมชาติ ผลงานชิ้นล่าสุด Personal Shopper โดยมีคริสเตน สจ๊วต (Kristen Stewart) แสดงนำ เขาเล่าถึงแรงบันดาลใจ จุดเริ่มต้นและเรื่องราวการสร้างหนังที่ท้าทายเรื่องนี้. นูเมโร: กรุณาเล่าจุดเริ่มต้นการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ โอลิวิเยร์: ...
การแต่งกายเป็นสิ่งสำคัญเพราะสามารถสร้างความประทับใจแรกและอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของผู้หญิงทำงานยุคใหม่ นูเมโรไทยแลนด์จึงพูดคุยกับคุณธันย่า-ปัญญ์ชลี วรรณอนันต์พร สาวสังคมผู้มากความสามารถในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ของเมืองไทย ซึ่งจะมาเผยถึงบทบาทการเป็นแม่ เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในการทำงาน...
จากการเรียนรู้ที่เริ่มจากศูนย์มาสู่ความสำเร็จในธุรกิจแฟชั่นของสุภาพสตรีผู้มีสไตล์ คุณลลิษณัลล์ ขะมาลา หรือคุณปลา บอสใหญ่แห่งบริษัท YMF International (Thailand) ผู้สร้างสรรค์แบรนด์ชากะ (Shaka) อย่างไม่หยุดนิ่งมากว่าสิบปีด้วยทีมเวิร์คที่มีคุณภาพ พวกเขามาร่วมกันบอกเล่าถึงความหลงใหล...